โรคไมเกรน [Migraine]

โรคไมเกรน [MIGRAINE]

   โรคไมเกรน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดศรีษะเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญคือ  อาการปวดศรีษะนั้นมักจะปวดข้างเดียว หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้งสองข้าง และแต่ละครั้งที่ปวดมักจะย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่งได้ แต่บางครั้งก็อาจจะปวดทั้งสองข้างขึ้นมาพร้อมๆกันตั้งแต่แรกลักษณะอาการปวดมักจะปวดตุ๊บๆ เป็นระยะๆ  แต่ก็มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อๆ ส่วนมากจะปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อยๆปวดมากขึ้นที่ละน้อยจนกระทั่งปวดรุนแรงเต็มที่แล้วจึงค่อยๆ บรรเทาอาการปวดลงจนหาย  ขณะที่ปวดศรีษะก็มักจะมีอาการคลื่นใส้หรืออาเจียนร่วมด้วย  ระยะเวลาปวดมักจะนานหลายชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะนานไม่เกิน  1 วันในบางรายอาจจะมีอาการเตือน นำมาก่อนหลายนาที เช่น สายตาพร่ามัว หรือ มองเห็นแสงกระพริบๆ อาการ ปวดนั้นไม่เลือกเวลา บางรายอาจจะปวดขึ้นมากลางดึก หรือ ปวดตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา  บางรายก็ปวดตั้งแต่ก่อนเข้านอนจนกระทั่งตื่นนอนเช้าก็ยังไม่หายปวดเลยก็ได้

     อาการ ปวดศรีษะไมเกรนต่างจากอาการปวดศรีษะธรรมดาตรงที่ว่า อาการปวดศรีษะธรรมดามักจะปวดทั่วทั้งศรีษะ ส่วนใหญ่เป็นอาการปวดตื้อๆ ที่ไม่รุ่นแรงนัก และมักจะไม่มีอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อได้นอนหลับสนิทไปพักใหญ่

  ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยกลุ่มใด วัยใด เพศใด มากที่สุด  โรคปวดศรีษะไมเกรนส่วนใหญ่จะเป็นในผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย มักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง แต่ก็อาจเกิดในผู้ท่สุขภาพจิตดีก็ได้สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไมเกรน  ปัจจุบัน สาเหตุของไมเกรนก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีอยู่หลายทฤษฎีที่เชื่อว่าน่าจะเป็นไปได้ โดยเชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง การสื่อกระแสในสมอง หรือการทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดมองก็ได้  ปัจจุบันเชื่อว่า ไมเกรน ถ่ายทอดทางพันธุกรรม             

 

                                                                                   

 

  ทางเรายินดีให้คำแนะนำ ตามฉบับคุณหมอเส็ง สมุนไพรหมอเส็ง ที่ช่วยท่านได้              

ติดต่อ คุณ ประวัติ  บุตรดา ผู้บริหารฉัตรเพชรหมอเส็ง 099-4293656

ID LINE : adt2508 หรือ Line @ : @morseng-line (อย่าลืมใส่ @ ด้วยนะคะ)  

 เพิ่มเพื่อน..คลิก

 


  • 2400_big.jpg
    โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพราะอาหาร คือ ภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ หรือ ลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่า โรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ หรือ ลำไส้ ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุ...

  • 668_big.jpg
    ภูมิแพ้ รู้ไว้ ไม่แพ้ โรคภูมิแพ้คืออะไรโรคภูมิแพ้คือโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งในคนปกติไม่มีปฏิกิริยานี้เกิดขึ้น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ มีปฏิกิริยาภูมิไวเก...

  • ปกอัลไซเมอร์.jpg
    โรคอัลไซเมอร์[Alzheimer] หากคุณเริ่มรู้สุกว่าตนเองเป็นคนขี้หลงขี้ลืม หรือไม่อยากพบปะผู้คน นั่นหมายความว่าคุณกำลังเข้าข่ายเสี่ยงต่อการเป็นโรค อัลไซเมอร์ โดยไม่รู้ตัว และต่อไปนี้ค...

  • 464ed3a275-780x408.jpg
    ไขมันในเลือดสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอล สูง หรือ ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างไดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได...

  • f971a08f-908b-4739-94a8-b29a517a4c0f.jpg
    สะเก็ดเงิน [psoriasis] โรคสะเก็ดเงินเป็นโรครักษาหายยากโรคหนึ่ง มีอาการตามผิวหนัง ตอนเริ่มกำเริบใหม่ ๆ จะเป็นตุ่มแดงขอบเขตชัดเจนและมีขุยสีขาว (สีเงิน) อยู่ที่ผิว ต่อมาตุ่มจะค่อยๆขยา...

  • โรคหอบหืด_1200x628.png
    หอบหืด โรคหอบหืดคืออะไร โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อ สิ่งที่มากระตุ้น มากกว่า ภาวะปกติ ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยหดเกร็ง มีขนาดตีบแคบลง และมีอาการบวม ...

  • images (1).jpg
    โรคหัวใจ 6 อาการเสื่อม โรคหัวใจ 1. หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดกับคนที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อน เป็นอันตรายถึงชีวิต 2. ภาวะหัวใจล้มเหลว รู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจและอึดอัดตรงหน้าอก...

  • 62fb5f1024529266c6e71c0c0c9ddb3c_XL.jpg
    โรคปวดประจำเดือนเรื่องต้องระวังของผู้หญิง คุณผู้หญิงทุกคน คงเคยประสบกับการปวดท้องประจำเดือน บ้างก็ทนได้ บ้างก็ทนไม่ไหวต้องพึ่งยาบรรเทาปวด เพื่อไม่ให้อาการปวดท้องเข้ามาบั่นทอนการใช้...

  • ตกขาว-720x340.jpg
    โรคตกขาว ตกขาวคืออะไร ตกขาว หมายถึง สิ่งที่ถูกขับออกมาจากช่องคลอด และสิ่งนั้นไม่ใช่เลือด ดังนั้น ตกขาวจึงมีสีอะไรก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีสีขาว ตกขาวนี่เองที่เป็นอาการที่ผู้ป่วยมาหาหมอ...

  • s_72_1512.jpg
    โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ไทย คือ ประมาณ 2.5-6% ของประชากร (ถ้าคิดจากคนไทย 60ล้านคน ก็จะมีคนเป็นโรคเบาหวานประมาณ 3 ล้านคน ) โรคเบาหวานเป็นสาเหตุ สำคัญอันดับแ...
Visitors: 210,912